ทฤษฎีการบริหารการศึกษา
มาสโลว์เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษย์นิยม เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ
ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาของอเมริกันเป็นอันมาก
ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า
การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์
เขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น
แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการ พฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนองความพอใจ
มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษออกเป็น 5
ระดับด้วยกัน ได้แก่
1.ความต้องการทางกายภาพ
(Physiological Needs) หมายถึงความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต
ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า
2.ความต้องการความปลอดภัย
(Safety Needs) หมายถึง
ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม
(Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น
และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง
(Esteem Needs) หมายถึง
ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง
เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น
ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม
โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ
โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ
มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา
ซึ่งให้หลักการว่า การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล
ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งในทฤษฎีนี้มีหลักสำคัญ 3
ประการ คือ
1.)
Individualism คือ การที่สังคมอเมริกันเป็นสังคมแบบ
ปัจเจกบุคคล ซึ่งจะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองมาแต่อดีต
และเมื่อคนต่างชาติโดยเฉพาะคนตะวันออกเข้าไปอาศัยในอเมริกันก็จะสังเกตว่า
คนอเมริกันเป็นคนโดดเดี่ยว มีสุงสิงกับใคร สังคมแบบ Individualism ส่งผลให้เกิดบุคลากรที่มีความรับผิดชอบในหน่วยงานสูง
แต่ก็เกิดผลเสียคือ ไม่เกิดความผูกพัน หรือเป็น
2.) Short
Term Employment คือ การจ้างงานในระยะสั้น
คนอเมริกันมักไม่มีความผูกพันในครอบครัว ในที่ทำงาน พร้อมเสมอที่ออกจากงาน ย้ายงาน
จึงมักมีบริการให้เช่าสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมองว่าต้นทุนในการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์เมื่อย้ายงาน
ออกจากบ้าน จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าค่าเช่า
3.)
Individual Decision Making คือ สูง มีความมั่นใจในการตัดสินใจ
กล้าตัดสินใจ ทำให้ผู้บริหารไม่ต้องไปดูแลอย่างใกล้ชิด ผลเสียคือ
ขาดการทำงานเป็นทีม
Henri Fayol เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ(Operational
management theory) หรือบางทางก็ถือกันว่าเป็นบิดาของการบริหารจัดการสมัยใหม่ เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ
และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial
activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือ
1. การวางแผน(Planning)
2. การจัดองค์การ(Organizing)
3. การบังคับบัญชา
หรือการสั่งการ (Commanding)
4. การประสานงาน
(Coordinating)
5. การควบคุม
(Controlling)
แมกซ์
เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน
ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น
หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม โดยสรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6
ประการมีดังนี้ คือ
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ
เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานในส่วนที่ง่ายพอ
และมีการกำหนดงานนั้นๆให้ชัดเจนและไม่สับสน (Division of labor)
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
( Authority Hierarchy) โดยสำนักงานหรือตำแหน่งต่างๆถูกจัดให้เป็นลำดับชั้น
โดยสำนักงานและตำแหน่งงานที่อยู่ใต้หน่วยงาน
หรือตำแหน่งงานนั้นจะอยู่ภายใต้การดูแลในระดับสูงขึ้นไป
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ
( Formal Selection) ทุกคนที่เข้าร่วมในหน่วยงานนั้นจะถูกคัดเลือกมาตามความสามารถและคุณสมบัติซึ่งแสดงให้เห็นได้ด้วยการฝึกอบรม
การศึกษาที่ได้รับ และการจัดให้มีระบบการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกอย่างเป็นทางการ
4. องค์การต้องมีระเบียบ
และกฎเกณฑ์ (Formal Rules and Regulations) ทั้งนี้เพื่อให้สามารถประกันความเป็นเอกภาพในการดำเนินการ
และการกำกับการทำงานของพนักงาน
ผู้ทำหน้าที่ด้านการจัดการจึงต้องมีกฎเกณฑ์เอาไว้เพื่อเป็นการกำกับพฤติกรรมของทั้งสองฝ่าย
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ( Impersonality)
ความจริงคำว่า impersonality หมายถึงการไม่มีอะไรเป็นพิเศษเป็นการส่วนตัว
ไม่มีการถือเอาสายสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นใหญ่
ไม่มีการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ถ้าจะทำอะไรก็ต้องให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ได้มีการกำหนดเอาไว้
6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ
(Career Orientation) โดยฝ่ายบริหารเองก็ไม่ใช่เจ้าขององค์การ
แต่เป็นนักบริหารหรือนักจัดการที่เข้าสู่ตำแหน่งตามความสามารถของตน
โดยแยกความผูกพันและความเป็นเจ้าของออกจากกัน คนทำงานแต่ละระดับก็ได้รับอัตราค่าตอบแทนอย่างเป็นระบบ
มีเลื่อนขั้น และการเติบโตภายในหน่วยงานได้ตามลำดับ
แนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง
และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง (the
one best way to do work) การศึกษาที่สำคัญคือลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกายในการทำงาน
(Motion Study)ผังกระบวนการทำงาน (Work Flow Process
Chart)พวกเขาได้นำกล้องเพื่อทำการถ่ายรูปเก็บข้อมูล
นำมาใช้ศึกษาลักษณะการทำงานของมนุษย์
ศึกษาในเรื่องของเวลาและการเคลื่อนไหวเราจะเห็นได้ว่าบุคคลทั้งสองช่างเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
ในยุคปัจจุบันการลดรอบการทำงาน
หรือการลดระยะเวลาการทำงานเพื่อให้ได้งานเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมคือสิ่งจำเป็นที่หลายหน่วยงานจะต้องทำ
ถือว่าเป็นเรื่องของการลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการทำงาน
สำคัญถึงขนาดจะต้องทำสัญญาต่อกันเลยว่าจะต้องปฏิบัติให้ได้
ถ้าทำไม่ถึงเกณฑ์ก็จะอดโบนัส หรือได้น้อยลงไป
การบริหารการศึกษา
บทที่
1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
การบริหาร
เริ่มใช้เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายโดยกลุ่มนักรัฐศาสตร์รัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นการจัดการหรือควบคุมกิจการต่างๆของรัฐ
ส่วนการบริหารของรัฐ คือ
การบริหารหรือการจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดอย่างมีระเบียบส่วนความสำคัญของการบริหารนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตเพื่อใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและรู้จักพัฒนาตนเองอยู่เสอม
การศึกษา หมายถึง
การทำกิจกรรมต่างๆ
ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ
เพื่อพัฒนาสังคมในทุกๆด้าน และการบริหารการศึกษา
หมายถึงกิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสังคมในทุกๆด้าน
บทที่
2
วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครองกฎหมายต่าง ๆ ของรัฐ ซึ่งสามารถจำแนกวิได้
ดังนี้
ระยะที่ 1 โครงสร้างการบริหารจะเป็นไปในรูปองค์การรูปนัย
ระยะที่ 2 การศึกษาเรื่องการบริหาร
ซึ่งเน้นพฤติกรรมองค์การ และเรื่องของมนุษย์สัมพันธ์ยิ่งขึ้น
ระยะที่ 3 นำการศึกษามาผสมกับแนวคิดในระยะที่ 1
และที่ 2 เข้าด้วยกัน คือ พิจารณาทั้งรูปและโครงสร้าง
ขององค์การและตัวบุคคล เป็นสำคัญ
วิวัฒนาการด้านธุรกิจ
เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อศตวรรษที่ 19 ทำให้การเปลี่ยนแปลงการบริหารที่ทันสมัยมากขึ้น
ที่มุ่งแสวงหากำไร ผลประโยชน์เป็นเป้าหมายสำคัญ
การแบ่งยุคของยุคของนักทฤษฎีการบริหาร
ยุคที่ 1
นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม
การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
ยุคที่ 2 ยุค
Human Relation Era ทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์
การประยุกต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์ ในการบริหารการศึกษา
ยุคที่ 3 ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริการ
การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
ทฤษฎีองค์การเชิงระบบ
และการประยุกต์เชิงระบบในการบริหารการศึกษา
บทที่ 3
งานบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาจะไม่แตกต่างกับการบริหารงานทั่วไป คือ
สามารถนำหลักการของของการบริหารทั่วไปมาใช้กับการบริหารศึกษาได้ องค์ประกอบทางส่วนบุคคลในการบริหารการศึกษา
ประกอบด้วย เจตคติ
ความสามารถและคุณลักษณะทางสังคมจิตวิทยาของบุคลากรทางการศึกษา และองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม คือ
ขนบธรรมเนียมประเพณีทางสังคม
ลักษณะของชุมชน และธรรมชาติของรัฐ
การบริหารงานมีการควบคุมอย่างเข้มงวดและมีการลงโทษหากผู้ใดฝ่าฝืนและลงโทษตามกฎหมายกำหนดและมีเครือข่ายทางการศึกษาดังนี้
1.การผลิต คือ กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้น
2.การประกันถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน คือ
กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
3.การเงินและการบัญชี คือ
การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ
4.บุคลากร คือ
การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย
5.การประสานงาน คือ
เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา
บทที่ 4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การ บริหารการศึกษาเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการบริหารประเทศ
เป็นการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน
เรียกว่าการบริหารการศึกษา การบริหารการศึกษา
การบริหารราชการ และการบริหารธุรกิจจะแตกต่างกันกับปรัชญาการศึกษา
การบริหารการศึกษาผู้บริหารนั้นจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการบริหาร
ที่สามารถนำไปเป็นหลักการจัดการศึกษาในโรงเรียนมี 2 เรื่อง คือ
1.การจัดระบบสังคม
2.เป้า หมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา
สำหรับหลักการจัดระบบการศึกษาแบ่งออกเป็น
3 ระดับคือ ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น
ระดับโรงเรียน โดยยึดหลักความเสมอภาคและเหมาะสมกับปรัชญา สภาพแวดล้อมของโรงเรียน
และมีการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับการปกครองในการบริหารงานในชั้นเรียน
อย่างเท่าเทียมกันโดยกระบวนการบริหารการศึกษา
เป็นความคิดรวบยอดและเป็นการจัดระบบการศึกษา
ให้เป็นไปตามกระบวนการศึกษาของโรงเรียน
บทที่ 5
องค์การและการจัดองค์การ
องค์การ
หมายถึงโครงสร้างหรือกระบวนการที่กลุ่มจัดตั้งขึ้นมีการกำหนดกิจกรรมหรืองานออกเป็น
ประเภทต่างๆ และมอบหมายความรับผิดชอบในกิจกรรมนั้นๆ
ให้แก่สมาชิกได้ดำเนินการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย องค์การแบ่งออกเป็น 3
ลักษณะใหญ่ๆคือ
1.องค์การทางสังคม ได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน
2.องค์การทางราชการ ได้แก่ หน่วยงานราชการต่างๆ
ครอบคลุมถึงกระทรวง ทบวง กรม
3.องค์การเอกชน ได้แก่ บริษัท ห้าง ร้านค้า
เป็นต้น
บทที่
6
การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารที่สำคัญ
ผู้บริการจะบริหารได้ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการบริหาร
การติดต่อสื่อสาร คือ การที่บุคคลทั้งแต่ 2
คนขึ้นไป มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือข่าวสารกัน
เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันระหว่างกันหรือเพื่อให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ความสำคัญของการสื่อสาร
1.การสื่อสารมีความจำเป็นมากขึ้นเนื่องจากการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในองค์การ
จะไม่สามารถจะใช้วิธีการสื่อสารปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันได้อีกต่อไป
2.แม้ว่าองค์การจะใช้เครื่องมือแทนการทำงานของมนุษย์
แต่การสื่อสารจะต้องถูกนำมาใช้ในรูปการสื่อความหมาย
รูปแบบการติดต่อสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2
ประเภท คือ
1
การติดต่อสื่อสารแบบพิธีการ
2. การติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นพิธีการ
บทที่ 7
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึงการเป็นผู้นำที่ใช้อิทธิพลในการดำเนินงาน
โดยใช้กระบวนการติดต่อสื่อ
หรือการพูดโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้มาร่วมปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ มีผู้นำ ผู้ตาม สถานการณ์
ผู้นำกับผู้บริหารจะแตกต่างกันคือผู้นำก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ส่วนผู้บริหารเป็นผู้รักษาความมั่นคงในหน่วยงาน
ผู้นำจะกลุ่มยกย่องเนื่องจากมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษเหนือบุคคลอื่นเนื่องจากผู้บริหารมีรูปแบบเป็นทางกา
บทที่ 8
การประสานงาน
การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน
เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่มมือปฏิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งเดี่ยวกัน
เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบาย
ความมุ่งหมายในการประสานช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
การประสานงานคือต้องทราบนโยบาย แผนงาน
งานที่รับผิดชอบในการประสานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วควรจะมีโครงสร้างที่จัดเป็นระบบแบบแผน
มีเครื่องมือและระบบสื่อสารที่เพียงพอและเปิดโอกาสให้กับผู้เข้าร่วมการประสานงานที่ดีจะมีประโยชน์หลายอย่างคือช่วยลดการขัดแย้ง
ลดปัญหาที่ซับซ้อน ทำให้เกิดเอกภาพในการทำงาน ช่วยให้ประหยัดเงิน เวลา
บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การตัดสินใจคือการชั่งใจไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อให้การดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่
กำหนดไว้ ส่วนการวินิจฉัยสั่งการคือการสั่งงานหรือการพิจารณาตกลงชี้ขาดจากทางเลือก
ที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางขึ้นไป
เป็นการบริหารซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการกำหนดนโยบายเป้าหมายการบริหาร ขั้นตอนการวางแผน ประสานงาน
การดำเนินงานจนถึงขั้นลงมือปฏิบัติซึ่งทุกระดับจะมีการคิดและตัดสินใจอยู่ตลอดเวลาเพื่อเลือกสิ่งที่ดีที่สุด
บทที่
10
ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียน
ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายงานให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาหรืออำนวยการต่างๆ จะมีหลายด้าน ดังนี้
1.การบริหารงานวิชาการ
ถือเป็นหัวใจของสถานศึกษาซึ่งจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็น
การจัดการเรียนการสอน การประเมินผล การควบคุมดูแลครู การจัดงบประมาณ
การจัดการเอกสารต่างๆ เป็นต้น
2.การบริหารบุคคล
คือ
เป็นการจัดงานเกี่ยวกับคนให้ทำงานให้ได้ผลที่สูงสุดและให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่สถานศึกษา
3.การบริการธุรการในโรงเรียน
เป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนสถาบันการศึกษา
ซึ่งส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
การทำงานได้ดีนั้นถือเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารงาน
4.การบริหารงานนักเรียน
เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน
หลักในการจัดกิจกรรม โดยการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเข้ากิจกรรมอย่างเสมอภาคกัน
และต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา ต้องปลูกฝังความคิด
ให้ผู้เรียนอยู่เสมอ
5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ
คือ การรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารสถานที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
และยังคงรักษาสภาพเดิมเอาไว้