วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค


ทดสอบปลายภาค
             
ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้ วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น
1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
         
       "แท็บเล็ต" (Teblet) เพื่อการศึกษา เป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษา ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย คุณลักษณะของแท็บเล็ตที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้นั้น สามารถสนองต่อความต้องการทางการเรียนรู้รายบุคคล สามารถติดตามช่วยเหลือให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ได้ เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย และช่วยแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ผ่านช่องทางสื่อสารหรือเครือข่ายสังคมต่างๆ "การใช้แท็บเล็ตให้ได้ผลจึงขึ้นอยู่กับครู ที่จะออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของเด็กผสมผสานกับกระบวนการต่างๆ ในโรงเรียน
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ( Tablet PC ) เป็นสื่อกระแสหลักที่กาลังมาแรงในสังคมยุคออนไลน์หรือสังคมสารสนเทศระบบเปิดในปัจจุบัน เป็นสื่อที่ถูกนามาใช้ประโยชน์ในทุกกลุ่มอาชีพรวมทั้งการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับเนื่องมาจากสมรรถนะทางเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งานจึงทาให้สื่อดังกล่าวมีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน แม้แต่ในวงการศึกษาไทยที่ภาครัฐยังได้กำหนดและสนับสนุนการใช้ให้เกิดการเรียนรู้ในวงกว้างในปัจจุบัน
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มีการพัฒนาและนำมาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งด้านเศรษฐกิจ  อุตสาหกรรม การบริการสังคม  สาธารณสุข  สิ่งแวดล้อม และการศึกษา ซึ่งการนำ ICT  มาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละด้านนั้น ได้มีการใช้ผ่านช่องทางการสื่อสารในระบบเครือข่าย เช่น สัญญาณระบบ  Wi-Fi, 3G และอุปกรณ์ต่างๆ เช่นคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต อันที่จะทำให้ผู้ส่งสารสามารถส่งข้อมูลข่าวสารถึงผู้รับสารได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
        
          สมาคมอาเซียน -ประเทศไทย จัดตั้งขึ้นในปี 2551 เพื่อเป็นช่องทางสำหรับประชาชนที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมกับการสร้างประชาคมอาเซียน สมาคมอาเซียนมีเป้าหมาย ที่จะเผยแพร่ความร่วมมือของอาเซียนในหมู่ประชาชน เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจของประชาชน ในการมุ่งไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน ผ่านการทำกิจกรรม และการ มีส่วนร่วมกับอาเซียนต่อ ประชาชนทั่วประเทศ เป็นช่องทางหนึ่งที่จะรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และทำให้อาเซียนสามารถเข้าถึง ประชาชนพร้อมกับสร้างความตระหนัก รู้ว่าพวกเขาล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งของประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น ในอนาคต
          การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน
AEC  หรือ Asean Economics Community  คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า

3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
         
           จากบทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับครูกับภาวะผู้นำจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับครูที่จะเป็นผู้นำได้นั้นต้องมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน (นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้ ผู้นำที่ดีจะทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงในด้านความศรัทธา ความไว้วางใจ สร้างแรงบันดาลใจ ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคค

4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหากนักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
    4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
    4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
    4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
    4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
    4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
    4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร
 แสดงความคิดเห็น
          ดิฉันคิดว่าการเรียนรู้โดยการใช้บล็อกมีประโยชน์มาก เป็นการเรียนรู้ที่ทันสมัยมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การใช้บล็อกในการทำงานเป็นสิ่งที่ง่ายอยู่กับเราได้นานและมีประโยชน์กับตนเองทั้งปัจจุบันและในอนาคต และยังประหยัดทรัพยากรสิ่งแวดอีกด้วย สำหรับการเรียนรู้ก็สามารถเรียนรู้ได้ง่ายเป็นสิ่งที่น่าสนใจและแปลกใหม่สำหรับดิฉัน ถ้าอนาคตมีการเรียนรู้โดยใช้บล็อกดิฉันคิดว่ามันคงดีมากและสะดวก สบายและในการใช้บล็อกมีประโยชน์ทั้งตัวเราและคนอื่น
           ส่วนในการพิจารณาในการได้คะแนนในวิชานี้เราต้องมีความตั้งใจเพราะในการทำทุกครั้งต้องให้งานออกมาดูดี สวนการเข้าเรียนนั้นก็เข้าเรียนทุกครั้งแต่ถ้าไม่มาเรียนก็อาจจะป่วยไม่สบายหรือติดธุระสำคัญจริงๆ เพราะการเรียนวิชานี้เป็นวิชาที่มีมีผลประโยชน์สำกับตัวเราในอนาคต และการทำงานทุกชิ้นที่อาจารย์สั่งในบนบล็อกแต่ละครั้งมันก็มีอุปสรรคมากเพราะไม่มีสัญญาณเน็ต จึงไม่สามารถที่จะเข้าไปทำงานในบล็อกได้
           ถ้าถามว่าดิฉันอยากได้เกรดอะไรสำหรับวิชานี้ดิฉันอยากได้ A เพราะงานทุกชิ้นที่ดิฉันทำออกมานั้นทำด้วยความตั้งใจ และในการทำงานแต่ละชิ้นทำให้ดิฉันไดเรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง และดิฉันชอบที่เรียนวิชานี้เพราะเป็นการเรียนที่ทันสมัย

กิจกรรมที่ 9



การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน


การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
          บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน   ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้

ความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
          การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน   หมายถึง   การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวน  การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน

ความสำคัญของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
          จากการสำรวจเอกสารงานวิจัย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. 2531: ค) ได้ค้นพบว่าบรรยากาศในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสนใจในบทเรียนและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ที่ครูให้ความเอื้ออาทรต่อนักเรียน ที่นักเรียนกับนักเรียนมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกันที่มีระเบียบ มีความสะอาด เหล่านี้เป็นบรรยากาศที่นักเรียนต้องการ ทำให้นักเรียนมีความสุขที่ได้มาโรงเรียนและในการเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นต่อนักเรียนได้ ก็นับว่าครูได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชนของประเทศชาติให้เติบโตขึ้นอย่างสมบรูณ์ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยแท้จริง ดังนั้น การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งประมวลได้ดังนี้
          1.ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจรเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม
          2.ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นักเรียนจะซึมซับสิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว
          3.ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีที่นั่งไม่ใกล้กระดานดำมากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียนนักศึกษา ฯลฯ
          4.ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน
          5.ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน ฯลฯ
          6.ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้าใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
กล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนใน
ด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่สุด




กิจกรรมที่ 8


ครูมืออาชีพ

"ครูมืออาชีพ ต้องเสียสละ อดทน มีความคิดสร้างสรรค์ พัฒนางานอย่างเป็นระบบ"

คุณลักษณะของครูมืออาชีพ
1. ตั้งใจศึกษากระบวนการ วิธีการสอนที่หลากหลาย ให้เหมาะสมกับบริบทของนักเรียน
2. มีความเสียสละ อดทน ต่อการทำงาน
3. รับผิดชอบในการบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
4. เมื่อเกิดปัญหาในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ควรนำปัญหามาแก้ไขอย่างเป็นระบบ
5. รู้จักการทำงานแบบธรรมาภิบาล  มีส่วนร่วมกับทุกฝ่ายในโรงเรียน

สรุปคือ ครูมืออาชีพจึงต้องเน้นการสอนให้มีคุณภาพ เพราะว่าคุณภาพการสอนของครูย่อมส่งผลดีต่อนักเรียน  และเยาวชนของชาติ  การประเมินคุณภาพของครูจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินจากตัวเด็กและเยาวชนของชาติ  ( คุณภาพของเด็กสะท้อน คุณภาพของครู







กิจกรรมที่ 7





ศึกษาดูโทรทัศน์ครู
1.สอนเรื่องอะไร  ผู้สอนชื่อ  ระดับชั้นที่สอน
สอนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง
ผู้สอน      คุณครูกนกวลี กรเกศกมล
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นางรอง
ระดับมัธยมศึกษา
2.เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
มีการจัดกิจกรรม  “โครงงานอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 ด้านสติปัญญา  ฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
ด้านอารมณ์     มีความสนุกสนานกับการทำงานหรือลงมือปฏิบัติงานด้วยตนเอง                       
ด้านคุณธรรมจริยธรรม  ให้เด็กมีความสามัคคี แบ่งปันกัน มีอะไรก็ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
4.บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
บรรยากาศในห้องเรียนน่าเรียน น่าสนใจ ดึงดูดความสนใจกับเด็กได้ดีมีการนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นสื่อในการเรียนการสอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ แต่ก็มีการศึกษานอกห้องเรียนด้วยเพราะนักเรียนต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาค



 บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล วารสาน ทักษิน
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นครูของแผ่นดิน  และพระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับปวงชนของพระองค์ในทุกๆด้าน เช่นการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเราจะเห็นได้ว่าท่านมีโครงการมากมายในการพัฒนาประเทศ   ท่านได้ทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดประประโยชน์แก่ปวงชนของท่านและมีคุณค่ามากมาย เช่น โครงการแก้มลิง เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นต้น  ซึ่งเราจะเห็นว่าการที่พระองค์ได้เสด็จไปที่ไหนแล้วที่นั่นก็จะมีการพัฒนา  และการที่พระองค์เสด็จไปในที่ต่างถือว่าเป็นการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นการเรียนรู้ไม่ได้มีแต่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว และพระองค์ท่านจะพัฒนาผืนแผ่นดินของเราอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ปวงชนของพระองค์อยู่อย่างสุขสบายและพระองค์ท่านทรงเล็งความทุกข์ยากของปวงชนอยู่เสมอ
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
                การเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องอาศัยการลงมือปฏิบัติจริง  มีความอยากรู้อยากเห็นเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลาและความรู้นั้นมีอยู่รอบตัวเราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต  ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครูนั้นจะต้องมีความรู้จริงและมีความรู้ที่กว้างขวางเพื่อจะนำมาถ่ายทอดให้ผู้เรียน  เนื่องจากการศึกษานั้นสำคัญต่อความเจริญของประเทศ
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
              ในการเรียนการสอนครูจะต้องเป็นผู้ชี้แนะให้กับผู้เรียน  แล้วให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้าน  พร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม เข้าไปด้วยและสามารถให้คำปรึกษากับผู้เรียนได้เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและการดำเนินชีวิตที่ดีควรยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
บทความ วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบส์THE STEVE JOBS WAY
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
      สตีฟ จ๊อบส์ คือ คนที่การศึกษาอย่างเป็นทางการไม่สูงนักแต่ฉลาดและน่าสนใจเขาได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นจากมันสมอง อัญชาญฉลาดของเขา สิ่งที่สร้างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นจากปาฏิหาริย์ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากมันสมองและสองมือของมนุษย์โดยผ่านกระบวนการเรียน กว่าจะมาถึงวันนี้เข้าต้องผ่านอุปสรรคต่างๆๆมากมายแต่ก็สามารถผ่านมาได้จนกลายเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ และเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนหลายคนอย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
          จะนำความรู้ที่มีถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียนโดยการนำความรู้ที่มีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนและให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนเพราะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในวันข้างหน้าสอและจะเปิดโอกาสให้นักเรียนทึกคนได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างเต็มที่
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
            ในอนาคตข้าพเจ้าจะเป็นครูผู้สอน และจะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจโดยการจัดการเรียนการสอนที่มีกิจกรรมควบคู่ไปด้วยเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และที่สำคัญครูผู้สอนควรสรุปกิจกรรมที่ทำเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 6


กิจกรรมที่ 5




  นางสาว จูหลิง ปงกันมูล หรือ ครูจุ้ย

 บิดาชื่อ นายสุน ปงกันมูล
 มารดาชื่อ นางคำมี ปงกันมูล
 เป็นบุตรคนเดียว เกิดวันที่ 29 เดือน มีนาคม พ.ศ.2522 อายุ 27 ปี
 ภูมิลำเนาเดิม หมู่ที่ 10 ต.ปงน้อย กิ่ง อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย
ประวัติการศึกษา
- ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านปงน้อย อ.แม่จัน จ.เชียงราย
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนปงน้อยวิทยาคม อ.แม่จัน จ.เชียงราย
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย
- ระดับอุดมศึกษา สถาบันราชภัฏลำปาง อ.เมือง จ.ลำปาง
 ประวัติการทำงาน     
           นางสาวจูหลิง ปงกันมูล หรือ ครูจุ้ย เริ่มบรรจุเข้ารับราชการโดยการสอบแข่งขันได้ในตำแหน่งครูผู้ช่วยโรงเรียนบ้านกูจิงลือปะ อำเภอระแงะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2548
           วันที่ 19 พฤษภาคม 2549 เวลาประมาณ 12.30 น. ชาวบ้านได้ปิดล้อมจับตัว ครูจูหลิง ปงกันมูล พร้อมครูสินีนาฏ ถาวรสุข เป็นตัวประกันและทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้เข้าไปช่วยเหลือนำตัวครูทั้งสองคนส่งโรงพยาบาลระแงะและได้ส่งตัวต่อไปยังโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเมืองนราธิวาส แต่เนื่องจากครูจูหลิง ปงกันมูล มีอาการบาดเจ็บอย่างสาหัส จึงได้นำตัวส่งต่อไปยังโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
          จากการประเมินของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ครูจูหลิง ปงกันมูล มีบาดแผลขนาดใหญ่โดยรอบศีรษะและลำคอ มีรอยช้ำขนาดใหญ่ที่คอและด้านหลังตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มีการแตกร้าวและยุบตัวของกะโหลกศีรษะ สมองบวมมาก มีรอยช้ำและเลือดออกที่ก้านสมอง ทางโรงพยาบาลรับตัวครูจูหลิง ปงกันมูล ไว้ดูแลอย่างใกล้ชิด ที่ห้อง ICU ได้ทำแผลและแก้ไขภาวะเกล็ดเลือดต่ำ และพยุงสัญญาณชีพซึ่งยังไม่ปกติ ต้องใช้ยากระต้นหัวใจให้ทำงาน ใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา เนื่องจากไม่สามารถหายใจได้ ม่านตาขยายมากไม่ตอบสนองต่อแสง ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งว่าสมองไม่ทำงาน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ได้ระดมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง รักษาครูจูหลิงอย่างเต็มความสามารถ
           ครูจูหลิง ปงกันมูล ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จาก สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ รับเป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ โรงพยาบาลได้ให้การรักษาพยาบาลครูจูหลิง ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม จนถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2549 เนื่องจากอาการของครูจูหลิง ทรงตัวและพ่อแม่ร้องขอเพื่อดูแลและให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด จึงได้ย้ายออกจากห้อง ICU ไปยังอาคารเฉลิมพระบารมีชั้น 12 ห้อง 1271 ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2549 และต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2549 ครูจูหลิง ปงกันมูล ได้รับการผ่าตัดสมองอีกครั้ง เนื่องจากแพทย์พบฝีในสมองเป็นจำนวนมาก กำหนดเดิมที่จะย้ายไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ในต้นเดือนมกราคม 2550 จึงต้องเลื่อนออกไป ต่อมาในเวลา 16.15 น. ของวันที่ 8 มกราคม 2550 ครูจูหลิง ปงกันมูล ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบ
          วันที่ 9 มกราคม 2550 ศพครูจูหลิง ปงกันมูล เคลื่อนย้ายจากโรงพยาบาลสงขลานครินทร์หาดใหญ่ไปยังวัดโคกนาว อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อรับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ต่อมาได้เคลื่อนย้ายโดยเครื่องบิน c 130 ของกองทัพอากาศจากกองบิน 56 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลับสู่เชียงรายอันเป็นแผ่นดินเกิด ณ บ้านปงน้อย กิ่งอำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย
          ครูจูหลิง ปงกันมูล ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงรับเป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ทรงติดตามถามอาการอย่างใกล้ชิดและพระราชทานความช่วยเหลือในทุกด้าน ทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จเยี่ยมพระราชทางกำลังใจ เปรียบเสมือนน้ำทิพย์ที่ได้ประโลมใจให้แก่ครอบครัวผู้สูญเสียและครูไทยทุกคน
        ผลงานที่ดิฉันชื่นชอบ  ครูจูหลิงเป็นคนให้ความสำคัญกับการเรียนการสอน มีความเสียสละเพื่อสวนรวม           
        ประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาพัฒนาตนเอง
              ครูมีความสามารถและใช้ความสามารถที่มีสร้างสิ่งดีๆให้แก่ตัวเองและสถาบัน ดิฉันจะนำความสามารถที่ดิฉันมีไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เช่นกันค่ะ